วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

หน่วยที่ 7
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
การเรียนการสอน



1. เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่างๆมี 4 แบบ

  •   อินเตอร์เน็ต คือ ครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายเล็ก ๆ มากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งโลก  เครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย  เครือข่ายของเครือข่าย
  •  เอกซ์ทราเน็ต คือ ระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายของอินทราเน็ตเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ภายนอก หรือเชื่อมอินทราเน็ตกับอินทราเน็ตอีกที่หนึ่งเข้าด้วยกัน ลักษณะการทำงานจะเหมือนกันอินทราเน็ตแต่ว่าเชื่อมแต่ละที่ให้เข้าหากัน เพื่อจุดประสงค์การทำงานที่เพิ่มขึ้น เช่นการดูแลจัดการสำนักงานของบริษัทแต่ละสาขาเข้าด้วยกัน เป็นต้น โดยการเชื่อมต่อมักจะปิดกั้นเฉพาะภายใน แต่อาจมีการเปิดให้ผู้ใช้งานภายนอกเข้ามาใช้งานหรือแบ่งระดับการเข้าใช้ข้อมูลได้เช่นกัน
  •  อินทราเน็ต คือ ระบบเครือข่ายซึ่งใช้กันเฉพาะภายใน โดยใช้เทคโนโลยีเดียวกับอินเทอร์เน็ตและใช้โปรโตคอลเดียวกัน ด้วยลักษณะการใช้งานที่เฉพาะภายในกลุ่มจึงทำให้อินทราเน็ตมีความปลอดภัยสูง มักถูกนำเอาไปใช้งานกับองค์กร บริษัท หรือหน่วยงานต่างๆในการจัดการภายใน ไม่ว่าจะเป็นการจัดเก็บเอกสาร การเผยแพร่ข่าวสาร ระบบเงินเดือน ห้องสนทนา และอื่นๆอีกมากมาย
  • รูปแบบของข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอรืประเภทต่างๆ



2. อินทราเน็ต หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กภายในองค์กรเช่น ระบบเครือข่าย Intranet โรงเรียนโคกสำโรงวิทยา intra แปลว่า ภายใน, และ net แปลว่าเครือข่าย แปลความหมายได้ง่ายๆว่า เครือข่ายภายในครับ intranet เป็นการนำเอารูปแบบ http และโปรโตคอล ต่างๆที่ใช้ในระบบอินเทอร์เน็ต มาทำเป็นเครือข่ายภายในองค์กรณ์ ทำให้ ถ้าหากคนในองค์กร ใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็น ก็สามารถจะใช้ Intranet ได้ทันที ทำให้ประหยัดเวลา ในการอบรม และ สามารถใช้ข้อมูลต่างๆ ร่วมกันภายในองค์กรได้


3. ตัวอย่างแหล่งข้อมูลการสสืบค้นบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
http://www.blogger.com/goog_502844617
http://www.blogger.com/goog_502844617
http://www.blogger.com/goog_502844617
http://www.blogger.com/goog_502844617
http://www.blogger.com/goog_502844617
http://www.blogger.com/goog_502844617
http://www.msn.com/


4. วิธีการสืบค้นข้อมูลทางเว็บไซต์ Google คือ Google จะละคำทั่วๆไป (เช่น the, to, of) และตัวอักษรเดี่ยว เพราะจะทำให้ค้นหาช้าลง แต่ถ้าคำพวกนั้นสามารถช่วยให้หาข้อมูลง่ายขึ้น ก็ต้องใช้เครื่องหมาย + ช่วยโดยนำไปอยู่หน้าคำนั้น (ต้องเว้นวรรคก่อนด้วย) เช่น back +to nature หรือ final fantasy +IV
Google สามารถตัดคำพ้องรูปได้โดยใช้เครื่องหมาย - ช่วยโดยการนำไปอยู่คำที่จะตัด เช่น คำว่า bass มี 2 ความหมายคือ เกี่ยวกับปลา และดนตรีเราจะตัดที่มีความหมายเกี่ยวกับดนตรีออกโดยพิมพ์ bass -music หมายความว่า bass ที่ไม่มีคำว่า music นอกจากนี้มันยังสามารถตัดอย่างอื่นได้อีก เช่น "front mission 3" -filetype:pdf หมายความว่า เรื่องเกี่ยวกับ front mission 3 แต่ไม่แสดงไฟล์ PDF การค้นหาแบบทั้งวลี (คือการค้นหาทั้งกลุ่มคำ) ให้ใช้เครื่องหมาย " " เช่น "Breath of fire IV"
Google สามารถค้นหาเว็บที่จำเพาะเจาะจงได้ โดยพิมพ์ คำที่คุณต้องการเจาะจง site:ชื่อ URL เช่น ถ้าคุณต้องการหาเว็บเกี่ยวกับการเข้า (admission) มหาวิทยาลัย Stanford ให้พิมพ์ admission site:www.stanford.edu
วิธีการสืบค้นข้อมูลทางเว็บไซต์ Google



5.  Digital library หมายถึง ห้องสมุดดิจิตัล เป็นการนำเทคโนโลยีหลาย ๆ รูปแบบทั้งสิ่งพิมพ์และข้อมูลดิจิทัลมาประสมประสานในการจัดการกับทรัพยากรสารสนเทศ โดยจัดเก็บให้อยู่ในรูปของข้อมูลดิจิทัล เช่น ความจำอิเล็กทรอนิกส์ หรือ จานแม่เหล็ก หรือ จานออปติคัล ฯลฯ และมีการเชื่อมโยงกันด้วยระบบเครือข่ายผ่านเส้นใยแก้วนำแสง(Fiber Optic) หรือผ่านดาวเทียมเพื่อให้ผู้ใช้จากทั่วโลกสามารถเข้าถึงสารสนเทศเหล่านี้ได้ ทั้งนี้เนื้อหาของสารสนเทศดิจิตัลแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ เรื่องราวที่สร้างมาและอยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านได้ประเภทหนึ่งและเนื้อหาในวัสดุที่เปลี่ยนจากรูปแบบดั้งเดิม (เช่น หนังสือ จุลสาร รูปภาพ ภาพยนตร์ และเสียง ที่บันทึกไว้) เป็นวัสดุดิจิตัล

ในความหมายที่ใกล้เคียงกับคำว่า ห้องสมุดเสมือน (Virtual library) และห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic library) แต่มีความแตกต่างคือเป็นห้องสมุด ที่มีการจัดการและให้บริการเนื้อหาของข้อมูลอยู่ในรูปแบบดิจิตอลที่ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาเอกสารเต็มรูป (Full – text) ได้โดยตรงมีการสร้างหรือจัดหาข้อมูลดิจิตอลมาจัดเก็บอย่างเป็นระบบเพื่อความสะดวกในการสืบค้นและให้บริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีเป้าหมายเพื่อให้บริการข้อมูลเช่นเดียวกับ ห้องสมุดแบบดั้งเดิม   ซึ่งข้อมูลที่อยู่รูปแบบดิจิตอลมีหลายรูปแบบได้แก่ ข้อมูลที่แปลงมาจากข้อมูลในสิ่งพิมพ์ ข้อมูลที่สร้างขึ้นใหม่ให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอลข้อมูลจากซีดีรอม ข้อมูลในวารสารอิเล็กทรอนิกส์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์และจากฐานข้อมูลออนไลน์ ทรัพยากรในห้องสมุดดิจิตอลมาจากหลายสื่อทั้งที่อยู่ในรูปสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และข้อมูลดิจิตอลในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในห้องสมุดมีการผสมผสานการให้บริการข้อมูลจากสื่อทุกประเภททั้งรูปแบบของการใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติในการจัดการ
ระบบงานห้องสมุดและการพัฒนาห้องสมุด ดิจิตอลเพื่อจัดเก็บและให้บริการข้อมูลที่ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาได้โดยตรงความหมายในทางเทคโนโลยีของทรัพยากรที่อยู่ในห้องสมุดแบบดั้งเดิมคือสิ่งพิมพ์หรือสื่อที่เป็นวัสดุเรียกว่า Physical objects คือเนื้อหาเรียกว่า Contents ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลหรือ Data ในหลาย items และข้อมูล อธิบายรายละเอียดของข้อมูลหรือ Data นั้น ๆ เรียกว่า Metadata หรือ Properties.


  ดังนั้นในความหมายของห้องสมุดดิจิตอล ประกอบด้วย

  •  ห้องสมุดที่มีการจัดหาหรือสร้างข้อมูล Information contents ให้เป็น Digital objects.
  •   ห้องสมุดที่มีการจัดการข้อมูลในรูปแบบดิจิตอลที่เรียกว่า เป็น Digital objects เริ่มจากมีการจัดการ การเผยแพร่ข้อมูลและการใช้ข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์หลักหรือในหลาย ๆ แหล่งจัดเก็บข้อมูล (Repositories) ผ่านระบบเครือข่าย
  • ผู้ใช้เรียกใช้ข้อมูลได้โดยตรงเป็นเนื้อหาเต็มรูปโดยผู้ใช้ไม่ต้องมาที่อาคารห้องสมุดและไม่ใช้ข้อมูลผ่านผู้ให้บริการหรือบรรณารักษ์
  •  ห้องสมุดดิจิตอล มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  เทคโนโลยีการสื่อสาร การจัดการสารสนเทศ  และการติดต่อกับผู้ใช้
  •  ห้องสมุดดิจิตอลมีการจัดหมวดหมู่ให้เป็นระบบในลักษณะ Metadata เพื่อความสะดวก ในการค้นหาและเพื่อให้การจัดการข้อมูลดิจิตอลมีมาตรฐานในการใช้ข้อมูลดิจิตอลร่วมกัน รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูล

ลักษณะของห้องสมุดดิจิตอล
      องค์ประกอบของการพัฒนาห้องสมุดดิจิตอล ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (Hardware) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) บุคลากร (Staff) และทรัพยากรที่จัดเก็บในรูปดิจิตอล (Collection) ซึ่งทำให้การจัดการระบบสารสนเทศห้องสมุด มีลักษณะดังต่อไปนี้ 
        
    1. มีทรัพยากรที่เป็นข้อมูลอยู่ในรูปดิจิตอลเรียกว่า digital object หรือเรียกว่า Collection of information objects ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร  รูปภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว (Language – based, Image – based, Sound – based, Motion – based) จัดเก็บไว้ในแหล่งจัดเก็บข้อมูล (Repository) ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หลักที่ใช้จัดเก็บข้อมูล (Server)
     2. มีการบริหารจัดการในลักษณะขององค์กร เช่นเดียวกับการจัดการห้องสมุดโดยมีการคัดเลือก การจัดเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูล การเผยแพร่ข้อมูล และมีเครื่องมือช่วยค้นที่ให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้
    3. มีการใช้เทคโนโลยีในการสร้างข้อมูล การจัดเก็บ การค้นหา การเผยแพร่ผ่านระบบเครือข่าย
    4. มีการบริการข้อมูลในลักษณะการใช้ข้อมูลร่วมกัน (fair use)
    5. มีการแนะนำการใช้ข้อมูลแก่ผู้ใช้และการอ้างอิงข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
    6. มีวัฎจักรของการพัฒนาห้องสมุดดิจิตอล ได้แก่ การสร้างข้อมูลดิจิตอล (Creation) การเผยแพร่ข้อมูล (Dissemination) การใช้ข้อมูล (Use) และการอนุรักษ์ข้อมูล (Preservation)
ความแตกต่างของห้องสมุดแบบเดิมและห้องสมุดดิจิตอล
        การทำงานของห้องสมุดแบบเดิมผู้ใช้จะมาใช้ทรัพยาสารนิเทศ  เช่นหนังสือ วารสาร   สิ่งพิมพ์อื่น ๆ ในสถานที่จัดเก็บทรัพยากรคือห้องสมุด  หรือใช้ค้นรายการบรรณานุกรมก่อนที่จะหาทรัพยากรที่ต้องการ เป็นห้องสมุดที่เน้น
การมี Collection บริการภายในอาคารสถานที่
  ส่วนห้องสมุดดิจิตอลมีการจัดเก็บข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์หลัก (Server) โดยผู้ใช้เข้าใช้ข้อมูลได้โดยตรงผ่านระบบเครือข่ายหรือค้นผ่านรายการสืบค้น (Catalog) โดยมีองค์ประกอบ การทำงานของห้องสมุดดิจิตอลได้แก่ การสร้างและจัดหา (Creat and capture) การจัดเก็บและจัดการข้อมูล (Storage and Management ) การสืบค้น (Search / Access) การเผยแพร่ข้อมูล (Distribution) และการพิจารณาในแง่ลิขสิทธิ์ของข้อมูลก่อนที่จะนำไปใช้
กระบวนการพัฒนาห้องสมุดดิจิตอล
      การพัฒนาห้องสมุดดิจิตอลเป็นการวางแผนการจัดการข้อมูลดิจิตอลที่ต้องมีวัตถุประสงค์ชัดเจนตามโครงการหรือ
แผนงานที่วางไว้โดยการพัฒนาโครงการห้องสมุดดิจิตอลจำเป็นจะต้อง พิจารณาองค์ประกอบเหล่านี้
      1. วัตถุประสงค์และความจำเป็นของการพัฒนา
      2. เนื้อหาที่ต้องการจัดเก็บ
      3. ขนาดของโครงการที่จะพัฒนา เนื่องจากเกี่ยวข้องกับงบประมาณ
      4. อุปกรณ์ที่ต้องการใช้ในโครงการและการสนับสนุนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
      5. กำหนดผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านเพื่อพัฒนางานตามโครงการ


Digital library